"
Login | สมัครสมาชิก      

การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลสําหรับครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนการสอนวิชา ประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา

Development of a Distance Training Package for Social Studies Teachers on the Organizing of History Instruction in Schools

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ในการฝึกอบรมก่อนการฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ใช้ชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับ ครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา และ3) ศึกษาผลการนำชุดฝึก อบรมทางไกลที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูสังคมศึกษาที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในชั้นประถมศึกษา (ป. 1 – 6) และมัธยมศึกษา (ม. 1 – 6) ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เขต 2 และเขต 3 จำนวน 80 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบ ชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนการ สอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา จำนวน 5 หน่วย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมทางไกล ก่อน และหลังการฝึกอบรม 3) แบบประเมินตนเองของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทางไกล ในการนำความรู้จากชุดฝึกอบรมทางไกล ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา และ4) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมทางไกล ได้แก่ E1/E2 และการทดสอบค่าที การวิเคราะห์แบบประเมินตนเองของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทางไกลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกอบรมทางไกล สําหรับครูสังคมศึกษา เรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชา ประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมา 5 หน่วยมีประสิทธิภาพ ดังนี้ หน่วย 1 80.21/81.35 หน่วยที่ 2 78.34/80.54 หน่วยที่ 3 79.29/82.23 หน่วยที่ 4 83.24/85.95 และหน่วยที่ 5 82.87/84.05 ตามลำดับ ซึ่ง เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กําหนดไว้ จำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 - 3 ส่วนหน่วยที่ 4 – 5 เกินเกณฑ์ที่กําหนด ส่วนผลสัมฤทธิ์ในการฝึกอบรมทางไกลหลังการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ใช้ชุดฝึกอบรมทางไกล สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างได้รายงานว่า ได้นำความรู้จากการศึกษาชุดฝึกอบรมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับผู้เรียนในสถานศึกษา อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ชื่อผู้แต่ง

รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวรรณ ศรีพหล

Download Fulltext

คำสำคัญ

ชุดฝึกอบรมทางไกล
การสอนวิชาประวัติศาสตร์
ครูสังคมศึกษา

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 1 ม.ค. - ธ.ค. 2554


เลขที่หน้า

 60-754

จำนวนผู้เข้าอ่าน

227 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,603  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th