"
Login | สมัครสมาชิก      

ยุทธศาสตร์การดารงชีพของครัวเรือนเกษตรกรในชุมชนบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์

Livelihoods Strategies of Household Agriculturist in Community area Ubonrat Dam

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษา พัฒนาการดำรงชีวิตของชุมชนและครัวเรือนเกษตรกร ตลอดถึงเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและยุทธศาสตร์การดำรงชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรในชุมชน บริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ ว่าเป็นอย่างไร โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้มุมมองของแนวคิดการดำรงชีพ แนวคิดทุนทางสังคม และแนวคิดการปรับตัว เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การดำรงชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรในชุมชนบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ ในหมู่บ้านโคกกลาง ตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการดำรงชีวิตของชุมชนและครัวเรือนเกษตรกรทั้ง 3 ช่วง คือ ช่วงระยะเวลาก่อนการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ ช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ และช่วงระยะเวลาหลังการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ถึงปัจจุบัน พัฒนาการดำรงชีวิตของชุมชนและครัวเรือนเกษตรกรมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายให้สามารถดำรงชีพได้ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง โดยมีการปรับตัว ปรับเทคนิควิธีในการสร้างยุทธศาสตร์การดำรงชีพใน รูปแบบต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังพบว่าเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีพของชุมชนและ ครัวเรือนเกษตรในชุมชนบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์นั้นมี 8 ประการคือ นโยบายรัฐ กระแสทุนนิยม ฤดูกาล/ภัยธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ การเปลี่ยนแปลง การอพยพ การถือครองที่ดิน และความผันผวนของราคาผลผลิต เป็นเงื่อนไข สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีพที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยที่ชาวบ้านไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำให้รูปแบบการดำรงชีวิตของชาวบ้านต้องต่อสู้ดิ้นรนอยู่ภายใต้ภาวะแนวโน้ม และบริบทความเปราะบางดังกล่าว และพบว่า การสร้างยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรในชุมชนบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ อาศัยความรู้ความสามารถในการจัดการ ทรัพย์สิน/ทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ทุนธรรมชาติ ทุนทางสังคม เป็นต้น นำมาใช้เป็นยุทธวิธี ในการทำกิจกรรมและยุทธวิธีในการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดโดยการสร้างงาน อาชีพ กิจกรรม หรือ สร้างรูปแบบวิธีการต่าง ๆ อันหลากหลายโดยอาศัยทรัพย์สิน/ทุนที่มีอยู่นั้น มาสนับสนุนในการประกอบอาชีพ ซึ่งยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกร/ชุมชนนี้จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในการดำรงชีพต่าง ๆ ตามมา คือ การมีรายได้เพิ่มขึ้น การมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การลดความอ่อนแอลง การเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร และการเกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อันก่อให้เกิดความอยู่รอดและความยั่งยืนของชุมชน

ชื่อผู้แต่ง

พระมหาโสภณ มูลหา

Download Fulltext

คำสำคัญ

ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกร
ครัวเรือนเกษตรกร
การดำรงชีพ
ชาวนา
ทุนทางสังคม

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 1 ม.ค. - ธ.ค. 2554


เลขที่หน้า

 75-87

จำนวนผู้เข้าอ่าน

257 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,600  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th