การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ตามประเด็นการประเมินตัวชี้วัดที่ 17 ของ ก.พ.ร. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 1) คณาจารย์ประจำมสธ. จานวน 308 คน จาก 383 คน (ร้อยละ 84.8) 2) นักศึกษาที่เข้ารับการ อบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ จานวน 7,273 คน จาก 10,981 คน (ร้อยละ 66.2) และ 3) เอกสารที่เกี่ยวข้องจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่รวบรวมโดยใช้แบบสอบถามด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบบันทึกด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยมีประเด็นที่ มสธ. ดำเนินการในระดับมากที่สุด 7 ประเด็น ดังนี้1) มสธ. มีการส่งเสริมให้คณาจารย์มี ความรู้ความเข้าใจ รู้เป้าหมายของการจัดการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาอุดมศึกษา และดำเนินการได้ตามแนวทางที่ กำหนด (ร้อยละ 86.9) 2) มสธ. มีมาตรการให้คณาจารย์ดาเนินการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็น รายบุคคลทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา (ร้อยละ 84.2) 3) มสธ. จัดให้มีการสำรวจ หรือการวิจัย หรือการ ประเมินประสิทธิภาพการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนาการจัดการสอนของคณาจารย์ ให้เป็น การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ โดยการลดสัดส่วนการถ่ายทอดความรู้ของคณาจารย์ และเพิ่ม สัดส่วนการปฏิบัติจริง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนให้มากขึ้น 3 ใน 4 กิจกรรม (ร้อยละ 79.7 - 82.5) 4) มสธ. มีการส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษา (ร้อยละ 89.8) 5) มสธ. มีการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ประจำส่วนใหญ่ ประเมินผลการจัดการสอนของคณาจารย์ ประจำของสถาบันที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการของผู้เรียนโดยการประเมินเพื่อ พัฒนาการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถนาผลที่ได้มาปรับเปลี่ยนการจัดการสอน เพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพได้ (ร้อยละ 94.9) 6) มสธ. ส่งเสริมให้คณาจารย์ ทาวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของ ผู้เรียน และนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียน (ร้อยละ 90.0) 7) มสธ. ส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์นำผลการประเมิน การเรียนการสอนมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ (ร้อยละ 79.7) และ นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของคณาจารย์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.43)