"
Login | สมัครสมาชิก      

การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Developing Community Enterprises Following the Sufficiency Economy Philosophy

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์สภาพการดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การสุ่มตัวอย่างใช้แบบแบ่งชั้นภูมิกับวิสาหกิจชุมชนที่มีการดาเนินกิจกรรม 3 ประเภท ได้แก่ การผลิตเมล็ดพันธุ์ การบริการ และการแปรรูป แต่ละประเภททำการศึกษากับวิสาหกิจชุมชนที่มีระดับแตกต่างกัน 2 ระดับ คือ ก้าวหน้า และพื้นฐานตามลาดับ จากนั้นกำหนดตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงได้วิสาหกิจชุมชนที่ศึกษาจำนวน 6 วิสาหกิจชุมชน ตามประเภทของวิสาหกิจชุมชน และต่างระดับ ดังนี้ วิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนโนนสว่าง และหนองมะค่าแต้ วิสาหกิจชุมชนประเภทการบริการ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนบุไทรโฮมสเตย์และบ้านสุขสมบูรณ์ วิสาหกิจชุมชนประเภทการแปรรูป ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนจิกสูง และเกาะกา ตามลำดับ การสุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนใช้การสุ่มแบบพบโดยบังเอิญจำนวนไม่น้อยกว่าครึ่งของสมาชิกทั้งหมด ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์SWOT ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชน ที่ศึกษาเริ่มจัดตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2551 ส่วนใหญ่ไม่มีสำนักงาน การบริหารงานกลุ่มและกองทุนส่วนใหญ่ดาเนินการโดยคณะกรรมการกลุ่มที่มาจากการเลือกตั้ง ประกอบด้วยประธานและกรรมการ 5-15 คน มีกฎระเบียบข้อบังคับ แหล่งของเงินกองทุนเริ่มต้นมาจากการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากภาครัฐ การดาเนินกิจกรรมการผลิตของกลุ่ม และการระดมหุ้นจากสมาชิก การจัดการเรียนรู้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ อบรมจากศูนย์เรียนรู้ การเรียนรู้ภายในกลุ่ม การทดลองด้วยตนเอง และการศึกษาดูงาน การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 2 ด้านคือ 1)ปัจจัยทั่วไป ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ สมาชิก ประธาน/กรรมการ ระบบการบริหารงาน ศูนย์เรียนรู้ การเรียนรู้ของสมาชิก ผู้สืบทอดและผู้อาวุโส ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภัยธรรมชาติ ปัจจัยการผลิต พ่อค้าคนกลาง หน่วยงานสนับสนุนและการแข่งขัน 2)ปัจจัยเฉพาะ ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ประกอบด้วย ระบบชลประทาน ปัจจัยการผลิต การแปรรูปผลผลิตข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว การลดต้นทุนการผลิต การจัดตลาดกลางแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าว และการจัดตั้งสวัสดิการชาวนา ปัจจัยเฉพาะด้านการบริการการท่องเที่ยว ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว การปรับปรุงและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ความสะอาดของสถานที่ อาหารและที่พัก สินค้าที่ระลึก ของฝาก และการประชาสัมพันธ์ ปัจจัยเฉพาะด้านการแปรรูป ประกอบด้วย วัสดุอุปกรณ์ในการแปรรูปอาหาร สุขลักษณะ ผลิตภัณฑ์คุณภาพดี และภาชนะบรรจุ แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย 1)แบบวัฏจักรการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเป็นแบบการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด เริ่มจากการสำรวจพื้นที่ การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด การประเมินวิสาหกิจชุมชนก่อนเริ่มดำเนินการพัฒนา การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนปฏิบัติการ การติดตามผลการดำเนินงาน และการประเมินผลภายหลังการพัฒนา 2) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนมีความต่างกันตามระดับการพัฒนาและกิจกรรมหลักในการผลิต

ชื่อผู้แต่ง

รองศาสตราจารยสัจจา บรรจงศิริ
บุญญฤทธิ์ มุ่งจองกลาง
ปาลีรัตน์ การดี

Download Fulltext

คำสำคัญ

วิสาหกิจชุมชน
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 1 ม.ค. - ธ.ค. 2554


เลขที่หน้า

 178-197

จำนวนผู้เข้าอ่าน

295 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,600  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th