"
Login | สมัครสมาชิก      

แนวทางพัฒนาเครือข่ายสวัสดิการชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Guidelines for Development on Community Welfare Network through Sufficiency Economy Philosophy

Abstract

การวิจัยแนวทางการพัฒนาเครือข่ายสวัสดิการชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สถานภาพและรูปแบบสวัสดิการชุมชน 2) แนวทางพัฒนาเครือข่ายสวัสดิการชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ3) ปัจจัยภายในและภายนอกที่เสริมหนุนและเป็นอุปสรรคในการดาเนินงานของเครือข่ายสวัสดิการชุมชน ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยคัดเลือกตำบลเขารวก อำเภอลาสนธิ จังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การจัดสัมมนา การสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การจำแนกประเภท การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ และการหาความสัมพันธ์ ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษามีดังนี้ 1. สถานภาพและรูปแบบสวัสดิการชุมชน กองทุนฯเกิดจากการรวมตัวกันของผู้นำชุมชนที่ต้องการสร้างหลักประกันในการดำเนินชีวิตด้วยการพึ่งพากันและกัน รูปแบบการก่อตั้งเกิดจากการระดมทุนจากสมาชิก ซึ่งแบ่งเป็นผู้สมัครใจบริจาคเพื่อกองทุนสวัสดิการชุมชนและผู้เป็นสมาชิกธนาคารหมู่บ้านที่ถูกเงื่อนไขบังคับเมื่อกู้ยืมต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเขารวก กองทุนฯ มีสมาชิกทั้งสิ้น 382 คน จาก 6 หมู่บ้าน ด้านการจัดสวัสดิการมีการเปลี่ยนแปลงจากเริ่มก่อตั้งที่ให้ความสำคัญกับการดูแลยามเสียชีวิต โดยปี 2552 มีการดูแลสมาชิกครอบคลุมทั้งยามคลอดบุตร เรียนหนังสือ เจ็บป่วย และเสียชีวิต ซึ่งกองทุนมีการประสานงานและได้รับการสนับสนุนจากองค์กรชุมชน องค์กร หน่วยงานต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง 2. แนวทางพัฒนาเครือข่ายสวัสดิการชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 แนวทาง ดังนี้ แนวทางแรก ส่งเสริมความสำคัญของการดาเนินชีวิตอย่างพอประมาณพร้อมกับการสร้างสังคมคุณธรรม โดยกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเขารวกไว้ 2 ด้าน คือ การรณรงค์สร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาการจัดการทุน แนวทางที่สอง เสริมสร้างความมีเหตุมีผลในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการกองทุนฯและการจัดสวัสดิการชุมชน ประกอบด้วยแผนปฏิบัติการพัฒนา 2 ด้าน คือ การพัฒนาการบริหารจัดการและการพัฒนาผู้นำและสมาชิก และแนวทางสุดท้าย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้กับคนในตำบลเขารวกด้วยการส่งเสริมความเข้า ใจเกี่ยวกับสวัสดิการชุมชนและเสริมสร้างความมั่นคงของกองทุนฯ ซึ่งกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ 3. ปัจจัยภายในและภายนอกที่เสริมหนุนและเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานของเครือข่ายสวัสดิการชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 1) ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง คือ คณะกรรมการ การบริหารจัดการ และรูปแบบการจัดสวัสดิการกองทุนฯ 2) ปัจจัยภายในที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่ คณะกรรมการ สมาชิก และการบริหารจัดการ 3) ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสสนับสนุนการดาเนินงาน คือการสนับสนุนทรัพยากรที่มีความหลากหลาย เหมาะสมและการสร้างเครือข่าย 4) ปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานพัฒนาเกี่ยวข้องกับทัศนคติของประชาชน ลักษณะทั่วไปของสมาชิก และการสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่น 4. ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาเครือข่ายสวัสดิการชุมชนระดับตำบลและต่อภาคีที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายสวัสดิการชุมชน ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งระหว่างสมาชิก ผู้นำในชุมชน ด้วยกระบวนการกลุ่มและเครือข่ายการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ เรียนรู้และแลกเปลี่ยนร่วมกัน เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนของพวกเขา สำหรับข้อเสนอแนะต่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการติดตามผลการวิจัยในพื้นที่เดิม การศึกษาถึงกลไกระดับตำบล ระดับอำเภอที่เหมาะสม และศึกษาการสร้างกองทุนสวัสดิการชุมชนโดยอาศัยฐานทรัพยากรหรือกิจกรรมอื่นๆ

ชื่อผู้แต่ง

นางสาวพรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข

Download Fulltext

คำสำคัญ

สวัสดิการชุมชน
เครือข่าย
เศรษฐกิจพอเพียง

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 2 ม.ค. - ธ.ค. 2555


เลขที่หน้า

 1-13

จำนวนผู้เข้าอ่าน

378 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,461  คน
ผู้เข้าชม 102,711  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th