"
Login | สมัครสมาชิก      

การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการศึกษาชุดวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (96414)

Students’ Opinions on Study Methodology for Computer Programming Course (96414)

Abstract

การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการศึกษาชุดวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (96414) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของเอกสารการสอน และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 และเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิ-ราช จานวน 65 คน โดยทาการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือ แบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีแจกแบบสอบถามให้กับนักศึกษาทุกคนที่เข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ ปรากฏว่า ได้รับแบบสอบ ถามกลับคืนมา จานวน 62 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.38 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.ข้อมูลทั่วไป นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 75.81 อายุระหว่าง 26-30 ปี ร้อยละ 29.03กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ร้อยละ 53.23 ประกอบอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างหน่วยงานเอกชน ร้อยละ 46.77 มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001 ถึง 20,000 บาท ร้อยละ 54.84 ระดับการศึกษาก่อนสมัครเรียนหลักสูตรนี้ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ร้อยละ 50.00 สาเหตุที่เรียนหลักสูตรนี้กับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเพราะอยากเรียนรู้เพิ่มเติม ร้อยละ 53.23 นักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ได้อ่านเอกสารการสอนของชุดวิชานี้ ร้อยละ 19.35 ในขณะที่มีนักศึกษาอ่านเอกสารการสอนครบทั้ง 15 หน่วย ร้อยละ 11.29 สาเหตุที่ยังไม่ได้อ่านหรือยังอ่านเอกสารไม่ครบทั้ง 15 หน่วย เนื่องจากไม่มีเวลา ร้อยละ 65.46 และสื่อเสริมประกอบการเรียนที่ต้องการมากที่สุดคือ ซีดีมัลติมีเดีย ร้อยละ 33.87 2.ความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของเอกสารการสอน ในภาพรวมนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ในด้านความครบถ้วนของเนื้อหาตามวัตถุประสงค์และคำอธิบายชุดวิชา ความถูกต้องและทันสมัยของเนื้อหา ความเหมาะสมของการจัดเรียงลำดับเนื้อหา ความยากง่ายของเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน ความเหมาะสมของระยะเวลาในการศึกษาแต่ละหน่วย ความสอดคล้องของแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียนกับวัตถุประสงค์ชุดวิชา ความสามารถในการพัฒนาความคิดของผู้เรียน และการนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ หรือวิชาอื่นๆ 3.ความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมาก ในด้านความเหมาะสมของกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะด้วยตนเอง ความเหมาะสมของกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะภาคสนาม ความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะภาคสนาม กิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาในชุดวิชาได้ดีขึ้น การนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะไปประยุกต์ใช้และโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักศึกษาที่เข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะด้วยกัน นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับปานกลาง ในด้านความพร้อมด้านเนื้อหาก่อนเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะภาคสนาม และความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะด้วยตนเอง

ชื่อผู้แต่ง

นางสาวปิยพร นุรารักษ์

Download Fulltext

คำสำคัญ

วิธีการศึกษาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 2 ม.ค. - ธ.ค. 2555


เลขที่หน้า

 211-225

จำนวนผู้เข้าอ่าน

156 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,461  คน
ผู้เข้าชม 102,711  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th