การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการศึกษาชุดวิชาระบบสำนักงานอัตโนมัติ (96401)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) จำนวนและข้อมูลของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนและเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ2) ความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของเอกสารการสอน และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาระบบสำนักงานอัตโนมัติในภาคการศึกษาที่1ปีการศึกษา 2554 และมาเข้ารับเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 27 คน ทำการศึกษาทั้งประชากร เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือ แบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีแจกแบบสอบถามให้กับนักศึกษาทุกคนที่มาเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ ปรากฏว่า ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จานวน 26 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 96.30 ของจานวนแบบสอบถามทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า
1.ข้อมูลทั่วไปนักศึกษาทั้งหมดกาลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 69.23 อายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ53.85 ประกอบอาชีพลูกจ้างหน่วยงานเอกชน ร้อยละ 46.15 มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001 ถึง 20,000 บาท ร้อยละ53.85 ระดับการศึกษาก่อนสมัครเรียนหลักสูตรนี้ที่ มสธ. คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)หรืออนุปริญญาร้อยละ92.31 ส่วนใหญ่ไม่ระบุว่าได้อ่านเอกสารการสอนของชุดวิชานี้แล้วจำนวนเท่าใด ร้อยละ 42.31สาเหตุหลักที่ยังไม่ได้อ่านหรือยังอ่านเอกสารไม่ครบเนื่องจากไม่มีเวลา ร้อยละ 37.50 สาเหตุที่เรียนหลักสูตรนี้กับ มสธ. เพราะได้เพิ่มโอกาสในการทำงาน ร้อยละ 57.69 ต้องการให้มีสื่อเสริมประกอบการเรียน คือ e-Learning ร้อยละ 50.00
2.ความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของเอกสารการสอนนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับความครบถ้วนของเนื้อหาตามวัตถุประสงค์และคำอธิบายชุดวิชา ระดับมากค่าเฉลี่ย 4.04ร้อยละ 73.10ความถูกต้องและทันสมัยของเนื้อหา ระดับมากค่าเฉลี่ย 3.88ร้อยละ 57.70ความเหมาะสมของการจัดเรียงลำดับเนื้อหา ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.00ร้อยละ 69.20ความยากง่ายของเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.85ร้อยละ 61.50ความเหมาะสมของระยะเวลาในการศึกษาแต่ละหน่วย ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.00ร้อยละ 69.20 ความสอดคล้องของแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียนกับวัตถุประสงค์ชุดวิชา ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.12ร้อยละ 57.70 ความสามารถในการพัฒนาความคิดของผู้เรียน ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.96 ร้อยละ 65.40การนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ หรือวิชาอื่นๆ ระดับมาก ค่าเฉลี่ย4.04ร้อยละ 57.70
3.ความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับความเหมาะสมของกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะด้วยตนเอง ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.00ร้อยละ 46.20ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะด้วยตนเองระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.80ร้อยละ 46.20ความเหมาะสมของกิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะภาคสนามระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.19ร้อยละ 50.00ความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะภาคสนามระดับมากค่าเฉลี่ย 4.12ร้อยละ 50.00กิจกรรมฝึกปฏิบัติเสริมทักษะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาในชุดวิชาได้ดีขึ้น ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.38ร้อยละ 46.20ความพร้อมด้านเนื้อหาก่อนเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.35ร้อยละ 50.00ความสามารถในการนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะไปประยุกต์ใช้ ระดับมาก ค่าเฉลี่ย4.31ร้อยละ 61.5โอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักศึกษาที่เข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะด้วยกัน ระดับมากค่าเฉลี่ย4.27 ร้อยละ 57.7