"
Login | สมัครสมาชิก      

การประเมินประสิทธิภาพการจัดสอนเสริมแบบเข้ม ชุดวิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

The Efficiency Evaluation of an Intensive Tutorial Session on Principle of Advertising and Public relations Course

Abstract

การวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพการจัดสอนเสริมแบบเข้มชุดวิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประเด็นดังต่อไปนี้ 1) การใช้ประโยชน์ด้านเนื้อหาของเอกสารคู่มือสำหรับวิทยากร 2) ความเหมาะสมของกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3) การใช้ประโยชน์ด้านเอกสารประกอบการสอนเสริมแบบเข้มซึ่งแจกให้กับนักศึกษา 4) ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้ ของนักศึกษาที่เข้ารับการสอนเสริมแบบเข้มและ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิด้านการเรียนรู้จากการเข้ารับการสอนเสริมแบบเข้มกับผลการสอบไล่ปลายภาค โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ศึกษาจากประชากรที่เป็นนักศึกษาที่เข้ารับการสอนเสริมแบบเข้มชุดวิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในภาคการศึกษา 1/2555 จำนวน 32 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สอน และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ในการทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียน ร่วมกับผลการสอบปลายภาคจากนักศึกษาผู้เข้ารับการสอนเสริมแบบเข้ม ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดไว้พบว่า1.อาจารย์ผู้สอนได้ใช้ประโยชน์อย่างมากจากคู่มือสำหรับวิทยากรซึ่งได้มีการสรุปเนื้อหาในสาระสำคัญของทุกหน่วยเพื่อช่วยวิทยากรในการเตรียมการสอนและเห็นว่าเนื้อหาและโสตทัศน์ที่เตรียมไว้ในคู่มือสำหรับวิทยากรเพียงพอและเหมาะสมดีแล้ว 2. ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาพอใจมากในทุกประเด็นทั้ง ระยะเวลาการสอนในวันเสาร์และอาทิตย์ ความสะดวกด้านสถานที่ และค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการสอนเสริมแบบเข้ม โดยพึงพอใจวิทยากรผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในเรื่องของการอธิบายและถ่ายทอดเนื้อหาได้ชัดเจน โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามเมื่อมีข้อสงสัย และตอบคำถามได้อย่างชัดเจน โดยมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา 3. ในส่วนของการใช้ประโยชน์ด้านเอกสารประกอบการสอนเสริมแบบเข้มซึ่งแจกให้กับนักศึกษา นักศึกษาพึงพอใจ เนื้อหามีความครอบคลุมและมีความชัดเจนในระดับมาก นอกจากนั้นในการให้นักศึกษาทำแบบทดสอบความรู้หลังการสอนแต่ละหน่วยการสอนพบว่านักศึกษามีความ พึงพอใจต่อแบบทดสอบในระดับมากเช่นกันโดยเห็นว่า แบบทดสอบมีเนื้อหาครอบคลุมและมีจำนวนข้อที่เหมาะสม คำถามของแบบทดสอบมีความชัดเจน 4. ในส่วนของผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้ นักศึกษาสามารถทำแบบประเมินผล ตนเองหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่าการทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 5. นักศึกษาที่เข้ารับการสอนเสริมแบบเข้ม สามารถสอบผ่านในการสอบไล่ปลายภาคได้ร้อยละ 100

ชื่อผู้แต่ง

รองศาสตราจารย์ ดร. บุษบา สุธีธร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิชญา อยู่ในธรรม

Download Fulltext

คำสำคัญ

การประเมินประสิทธิภาพ
การสอนเสริมแบบเข้ม
ชุดวิชาหลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ก.ค. - ธค. 2556


เลขที่หน้า

 23-42

จำนวนผู้เข้าอ่าน

204 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,461  คน
ผู้เข้าชม 102,713  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th