การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชนของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย (2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเปิดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชน และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชนของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย มีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์มากที่สุด เพราะมีทั้งภาพและเสียงจึงมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยสื่อโทรทัศน์มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะมีทั้งภาพและเสียง รองลงมาคือวิทยุ และหนังสือพิมพ์ ทาให้เห็นว่าสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีผลต่อประชาชนมากที่สุด 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นประจา และชักชวนผู้อื่นให้ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งเป็นประจำ ทำให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนยังอยู่ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเท่านั้น 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเปิดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชน คือ การไม่มีเวลาและมีความสนใจในเรื่องของการเมืองน้อย อยากให้สื่อมวลชนเสนอข่าวแบบเป็นกลางและการนำเสนอข่าวสารให้รอบด้าน สื่อมวลชนมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าวสาร