"
Login | สมัครสมาชิก      

การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล

Development of a Community Rice Center Network in the Mool River Basin

Abstract

การวิจัยครั้ง นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำ มูล 2.เพื่อพัฒนาเครือข่าย ศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล การวิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงกับศูนย์ข้าวชุมชนที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำมูลจาก 9 จังหวัดจำนวน 28 ศูนย์ข้าวชุมชนแต่ละศูนย์ข้าวชุมชน คัดเลือกตัวแทนผู้นำและสมาชิกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินองค์ประกอบตัวชี้วัดความเข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชน และประเด็นการสัมมนา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบการศึกษาความเป็นเหตุและผล การอธิบายให้ความหมาย และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานการณ์การดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนที่ศึกษา จัดตั้งมาแล้วเฉลี่ยประมาณ 8 ปี โดยได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว และ อบต. สภาพพื้นที่เป็นทั้ง พื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ดอน การผลิตเมล็ดพันธุ์มีการปลูกและคัดเลือกพันธุ์ปน ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าวขาวดอกมะลิ 105 การกระจายพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่กระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกรในชุมชน และในพื้นที่ใกล้เคียง ด้านการบริหารกลุ่มมีการตั้งกรรมการศูนย์ข้าว ชุมชนที่ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน กรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการ มีแปลงเรียนรู้ตามระบบแปลงโรงเรียน เกษตรกร ด้านการบริหารกองทุนมีกฏระเบียบในการบริหารกองทุน และมีการปันผลให้กับสมาชิก สภาพปัญหาการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนที่มีความรุนแรงในระดับมาก ได้แก่ ปัญหาด้านการบริหารกลุ่มในเรื่องของภาวะความเป็นผู้นำ การวางแผนและกิจกรรมกลุ่ม การติดตามและประเมินผลกลุ่ม กฏระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม และการประชุมกลุ่มปัญหาที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาด้านความรู้ ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ด้านการตลาดและการกระจายพันธุ์ ด้านการจัดการทุน 2. การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล ประกอบด้วย 1) การพัฒนาขั้นตอนการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล มี 6 ขั้น ตอนได้แก่ การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน มี 4 เรื่อง ได้แก่ การพัฒนากระบวนการบริหารเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนากิจกรรมของเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยง การพัฒนาการเชื่อมโยงศูนย์ข้าวชุมชนกับองค์กรต่างๆ และการพัฒนาการสนับสนุนศูนย์ข้าวชุมชนจากภาครัฐ การจัดทำตัวชี้วัดความเข้มแข็งของเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน มี 4ประเด็นตัวชีวัด คือ (1) กระบวนการบริหารเครือข่าย (2) กิจกรรมของเครือข่าย (3) การเป็นเครือข่าย/การประสานงานกับกลุ่มองค์กรต่างๆ และ (4) การสนับสนุนจากภาครัฐ การวางยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาเครือข่าย ประกอบด้วยแนวยุทธศาสตร์ด้านการขยายเครือข่าย ด้านการตลาด และด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนแผนการพัฒนาเครือข่ายเป็นแผนของแต่ละศูนย์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานและการประชุมวางแผนเครือข่ายในระดับจังหวัดและในระดับลุ่มน้ำมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการศึกษาดูงาน 2 จุดคือศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรรมแบบพอเพียงจังหวัดยโสธร และศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดสุรินทร์ การติดตามผลความก้าวหน้าการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน มีการติดตามผลหลังจากมีแผนแล้ว 1 ครั้ง และการประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน พบว่า ศูนย์ข้าวชุมชนได้มีการดำเนินการตามตัวชีวัดได้ค่อนข้างเกือบครบทุกประเด็นของตัวชี้วัด แต่มีบางประเด็นที่สมาชิกเกือบครึ่งยังไม่มีการดำเนินการ ได้แก่ ด้านกิจกรรมการตลาดของเครือข่ายเรื่องตราสัญลักษณ์ ถุงบรรจุมาตรฐานเดียวกัน การรับซื้อเมล็ดพันธุ์จากกลุ่มเครือข่ายเพื่อมาจำหน่าย และการตรวจสอบย้อนกลับโดยเครือข่าย กิจกรรมการแลกเปลี่ยนและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวเรื่องการอนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์ข้าวท้องถิ่นในเครือข่าย และการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวระหว่างกลุ่ม ด้านการเป็นเครือข่าย/การประสานงานกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ได้แก่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ร้านค้า และโรงสี 2) แนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน มี 4 ประการ คือ (1) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน (2) แนวทางการสร้างเครือข่ายการตลาดและการกระจายพันธุ์(3) การกำหนดประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์ข้าวชุมชน และ (4) แนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน 3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครือข่าย มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ วิสัยทัศน์และการนำองค์กร การวางแผนยุทธศาสตร์กระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพผลผลิต การจัดหาแหล่งเงินทุน การจัดการระเบียบ ข้อบังคับและการพัฒนาบุคลากรของศูนย์ข้าวชุมชน ส่วนปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย การยอมรับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของชาวนากลุ่มเป้าหมาย เทคโนโลยีที่ทันสมัยของเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตพันธุ์ข้าว ราคาพันธุ์ข้าวและคู่แข่งขัน นโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ การค้าเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียน การแข่งขันของประเทศคู่แข่ง และการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ชื่อผู้แต่ง

สัจจา บรรจงศิริ
บาเพ็ญ เขียวหวาน
บุญญฤทธิ์ มุ่งจองกลาง
บุณฑริกา นันทา
ปาลีรัตน์ การดี

Download Fulltext

คำสำคัญ

เครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน
ลุ่มน้ำมูล

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ม.ค. - มิย. 2557


เลขที่หน้า

 18-35

จำนวนผู้เข้าอ่าน

355 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,461  คน
ผู้เข้าชม 102,713  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th