"
Login | สมัครสมาชิก      

รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุงาน กรณีศึกษาครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดนนทบุรี

THE MODEL OF RETIREMENT PREPARATION FOR TEACHERS OF PRIVATE SCHOOLS IN NONTHABURI PROVINCE

Abstract

การวิจัยครั้งนีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนใน จังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยาปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยด้านปัญหา/อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี และ 4) สร้างรูปแบบและแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรีได้อย่างเหมาะสม ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้ง เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การศึกษาเชิงปริมาณประชากรได้แก่ครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน โดยใช้สูตรของยามาเน่ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคัดเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็น 2 ช่วงอายุคือ ช่วงอายุก่อนใกล้เกษียณ (อายุไม่เกิน 55 ปี ) และช่วงอายุใกล้เกษียณ (อายุ 55 ปี ขึ้น ไป) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามให้ตอบเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนF-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพใช้วิธีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับครูโรงเรียนเอกชน สมาชิกในครอบครัว และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตการศึกษา จานวน 30 คน เพื่อสร้างรูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ และนำรูปแบบที่สร้างขึ้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนพิจารณาความเหมาะสมด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ในภาพรวมครูโรงเรียนเอกชนมีคะแนนเฉลี่ย การเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในระดับปานกลาง โดยผู้ที่อยู่ในช่วงอายุก่อนใกล้เกษียณมีคะแนนเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในระดับปานกลาง ส่วนช่วงอายุใกล้เกษียณมีคะแนนเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในระดับสูง 2) ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส และระดับรายได้ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่เพศ ภาวะสุขภาพ และความเพียงพอของรายได้ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในภาพรวมไม่แตกต่างกันแตกต่างกัน 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในภาพรวมของครูโรงเรียนเอกชน คือ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ ทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุราชการ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ ส่วนปัญหา/อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุราชการ 4) รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนในแต่ละช่วงอายุมีความคล้ายคลึงกัน คือผู้ที่จะเกษียณอายุทุกช่วงอายุต้องเตรียมความพร้อมทั้ง ทางด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านการใช้เวลา โดยครอบครัวต้องสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุทุกด้านในเรื่องอารมณ์/ความรู้สึก ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านวัตถุ/สิ่งของ ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุทุกด้านในเรื่องการให้ความรู้ คำแนะนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุและการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุน/ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ

ชื่อผู้แต่ง

นางสาวสุพรรณี รัตนานนท์
นายเมธี จันทชาติ
นางสาวทยณฐ ชวนไชยสิทธิ์

Download Fulltext

คำสำคัญ

การเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ
ผู้สูงอายุ
เกษียณอายุ

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ม.ค. - มิย. 2557


เลขที่หน้า

 82-101

จำนวนผู้เข้าอ่าน

270 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,600  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th