การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานและการเลี้ยงดูสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว 2)
ศึกษาลักษณะมาตรฐานสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้วที่มี
มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของโลก กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เพาะเลี้ยง
และพัฒนาสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว จำนวน 21 แห่ง กลุ่มผู้ตัดสินการประกวดและผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุนัขบาง
แก้วจำนวน 9 คน และกลุ่มสุนัขที่ได้รับการพัฒนาจากกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงจำนวน 21 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสาหรับกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงและกลุ่มกรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบ
บันทึกพันธุ์ประวัติสุนัข แบบบันทึกข้อมูลลักษณะสุนัข แบบเปรียบเทียบลักษณะสุนัขตามมาตรฐานพันธุ์
แบบเปรียบเทียบลักษณะสุนัขตามเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ และเครื่องบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การ
เก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ พร้อมบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของสุนัข การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ลักษณะพื้นฐานและการเลี้ยงดูสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้วเป็นสุนัขขนาดกลางจัดอยู่ในกลุ่ม Spitz โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีสัดส่วนที่กลมกลืน เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว มีลักษณะพื้นฐานที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ 8 ประการ สาหรับการเลี้ยงดูสุนัขบางแก้ว มีการให้อาหารที่เหมาะสมกับวัย อายุ และน้ำหนักของสุนัข มีการให้สุนัขออกกำลังกายเป็นเวลาวันละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ10-15นาที การฝึกวินัยจะเน้นการฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา วันละ 2 ครั้ง มีการจัดสภาพแวดล้อมให้สุนัขอยู่ในกรง และพาสุนัขเข้าสังคมอยู่เสมอ ลักษณะมาตรฐานสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว สุนัขบางแก้วมีลักษณะของริมฝี ปาก สีจมูกและสันจมูก กรวยปาก ฟัน คอ เอว เส้นล่าง ข้อขาหน้า และขน ที่ถูกต้องตามมาตรฐานพันธุ์ ส่วนลักษณะที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานพันธุ์ ได้แก่ เท้าหลัง เท้าหน้า และหลัง ตามลำดับ สำหรับเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ พบว่าสุนัขทั้ง 21ตัว มีแข้งสิงห์ที่ถูกต้องตามเอกลักษณ์ประจำ พันธุ์ ส่วนลักษณะที่ยังไม่ถูกต้องตามเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ ได้แก่ ขนชายท้อง และเครา ขนหน้าอก สำหรับการถ่ายทอดจุดเด่น-จุดด้อยในสายตระกูล สิ่งที่มีการถ่ายทอดมาก ที่สุด ได้แก่ จิตประสาท โครงสร้าง และขน ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่สิ่งที่ถ่ายทอดจะเป็นลักษณะเด่นมากกว่าลักษณะด้อย สิ่งที่สุนัขได้รับจากการพัฒนาอย่างชัดเจนคือเรื่องโครงสร้าง จิตประสาทและ ลักษณะการเคลื่อนไหว ส่วนสิ่งที่สุนัขต้องพัฒนาต่อไปคือ ขนาดของขาหลัง ลักษณะกระดูกเล็กและบาง ความดุ และหวาดระแวง
แนวทางการพัฒนาสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้วที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของโลก กระบวนการพัฒนา
สุนัขควรเริ่มตั้งแต่การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวสุนัข จุดเด่น จุดด้อย ประวัติสายตระกูล ลักษณะการ
ถ่ายทอดในสายตระกูล การคัดเลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่สามารถลดจุดด้อย และมีจุดเด่นที่ต้องการมาผสม
พันธุ์ โดยผู้เพาะเลี้ยงควรให้ความสำคัญกับระบบการบันทึกข้อมูลพันธุ์ประวัติ ควรบันทึกรายละเอียด
เกี่ยวกับตัวสุนัขอย่างรอบคอบ ตรงตามความเป็นจริง ทั้งนี้คอก/ผู้เพาะเลี้ยง ควรร่วมมือกันสร้างแนวทางใน
การพัฒนาสุนัขบางแก้ว โดยร่วมกันคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีจุดเด่นมาพัฒนาร่วมกัน