"
Login | สมัครสมาชิก      

การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

A Feasibility Study for Offering New Forms of Seminar Sukhothai Thammathirat Open University

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการเข้าสัมมนารูปแบบใหม่ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) ศึกษาความพร้อมในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ของอาจารย์บัณฑิตศึกษา มหาวิ ทย าลัย สุ โ ขทั ย ธรร มาธิ ร าช แ ละ 3) ศึ กษาความเ ป็ นไ ปไ ด้ ในการ จั ดสั มมนารู ปแ บบใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประชากรที่ใช้ศึกษา ประกอบด้วยนักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่ลงทะเบียนภาคปลายปี การศึกษา 2556 จํานวน 1,985 คน และอาจารย์บัณฑิตศึกษา จํานวน 195 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การวิจัย สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่จากข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและสนทนากลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการเข้าสัมมนารูปแบบใหม่ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา พบว่าส่วนใหญ่ ต้องการเข้าสัมมนาแบบเดิม คือ สัมมนาในวันเสาร์-อาทิตย์ 2) ความพร้อมในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ของ อาจารย์บัณฑิตศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเพิ่มทางเลือกในการสัมมนาช่วงเย็นหลังเลิกงานวันทําการปกติ (วันจันทร์-ศุกร์) และ 3) ความเป็นไปได้ในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ พบความเป็นไปได้ในการจัดสัมมนารูปแบบ ใหม่ คือการจัดสัมมนาในช่วงเย็นหลังเลิกงานวันทําการปกติ (วันจันทร์-ศุกร์) โดยการทําโครงการพิเศษแยกจาก การจัดการเรียนการสอนบัณฑิตศึกษาแบบเดิม หรือการทําโครงการความร่วมมือกับหน่วยงาน

ชื่อผู้แต่ง

นาง นงค์ลักณ์ รุ่งวิทยาธร

Download Fulltext

คำสำคัญ

การจัดสัมมนา
รูปแบบใหม่
ศึกษาความเป็นไปได้

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2559


เลขที่หน้า

 12-21

จำนวนผู้เข้าอ่าน

217 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,461  คน
ผู้เข้าชม 102,712  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th