การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบพฤติกรรมและเงื่อนไขการเรียนรู้การใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร และ 2) ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรในการเข้าใจและเข้าถึง
เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 466 คน จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อย และ ปาล์มน้ำมัน ในจังหวัดกำแพงเพชร นครราชสีมา สุพรรณบุรี และกระบี่ ตามลา ดับ และเก็บข้อมูลจากการจัด เวทีชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ากลาง (มัธยฐาน) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1) เกษตรกรมีการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศในการรับข้อมูล
ข่าวสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญ คือ วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ วิทยุกระจายเสียงและโทรศัพท์
บ้าน สำหรับรูปแบบพฤติกรรมการเรียนรู้พบว่า แหล่งความรู้เดิมเกี่ยวกับการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่
มาจากบรรพบุรุษ รองลงมาคือจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและจากการศึกษาดูงาน โดยเกษตรกรมีวิธี
การศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเกษตรจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากที่สุด สำหรับเงื่อนไขการ
เรียนรู้ในภาพรวมพบว่า เกษตรกรได้รับข่าวสารความรู้ด้านการเกษตรจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ อยู่ใน
ระดับปานกลาง ความเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศในประเด็นต่างๆ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ความเหมาะสมของเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมาก ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อการเรียนรู้
ของเกษตรกรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ต่อ
การเรียนรู้ของเกษตรกรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความรู้ความสามารถของตนเองในการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมในระดับมาก ความพร้อมในการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) สำหรับปัญหาในการเข้าใจและเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าทั้งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ระบุว่ามีปัญหาการใช้ที่ยุ่งยาก ไม่มีอุปกรณ์ พื้นที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถ
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้