การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์การบริหาร การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่ม ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือเจ้าหน้าที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การ มหาชน) หรือ อพท. จํานวนทั้งสิ้น 103 คน ผู้วิจัยได้กําหนดขนาดตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้ เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอย พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยแรงจูงใจจํานวน 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความรับผิดชอบ 2. ด้านความมั่นคงใน หน้าที่การงาน 3. ด้านการยอมรับนับถือ 4. ด้านนโยบายและการบริหาร 5. ด้านความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่ และ6. ด้านสวัสดิการ ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนงานพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ และ 2) ปัจจัยแรงจูงใจจํานวน 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการยอมรับนับถือ 2. ด้านนโยบายและการบริหาร 3. ด้านสถานที่ทํางาน 4. ด้านความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่ และ 5. ด้านเงินเดือน ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการหน้าที่ อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย