การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพองค์กรของมหาวิทยาลัยเอกชน และแนวทางการส่งเสริม
สุขภาพองค์กรของมหาวิทยาลัยเอกชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัย
เอกชน จำนวน 39 สถาบัน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนตามจำนวนและขนาดของสถาบันในแต่ละกลุ่ม
แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลจาก 14 สถาบัน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม
เกี่ยวกับมิติสุขภาพองค์กร 7 มิติตามแนวคิดและทฤษฎีของฮอยและมิสเกล ได้แก่ 1.มิติบูรณภาพของสถาบัน 2.มิติ
ด้านกิจสัมพันธ์ 3.มิติด้านมิตรสัมพันธ์ 4.มิติด้านอิทธิพลของผู้บริหาร 5.มิติด้านการสนับสนุนทรัพยากร 6.มิติด้าน
ขวัญกำลังใจ และ7.มิติด้านการมุ่งเน้นวิชาการ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สุขภาพองค์กรของมหาวิทยาลัยเอกชนใน 7 มิติ โดยรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า
ค่าเฉลี่ยกลางเกือบทุกมิติ ยกเว้นในมิติ ที่ 1 ด้านบูรณภาพของสถาบัน ที่มหาวิทยาลัยเอกชนมีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำ
กว่าค่าคะแนนกลาง 2) สุขภาพองค์กรของมหาวิทยาลัยเอกชนใน 7 มิติ พบว่า โดยรวมมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน
14 สถาบัน มีภาวะสุขภาพองค์กรสูงกว่าค่าเฉลี่ย มีจำนวน 5 สถาบัน ที่มีภาวะสุขภาพองค์กรดี โดยเป็น
มหาวิทยาลัยเอกชนขนาดใหญ่ 1 สถาบัน ขนาดกลาง 3 สถาบัน และขนาดเล็ก 1 สถาบัน และ 3) มีมหาวิทยาลัย
เอกชน จำนวน 2 สถาบันที่มีภาวะสุขภาพองค์กรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากเป็นมหาวิทยาลัย
เอกชนขนาดใหญ่และขนาดกลางตามลำดับ