"
Login | สมัครสมาชิก      

วิถีทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมศรีวิชัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบนคาบสมุทรภาคใต้ของไทย

Cultural Diversity of Srivijayan to Support Historical and Cultural Tourism

Abstract

“วัฒนธรรมศรีวิชัย” นั้นจัดเป็น “วัฒนธรรมร่วมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เนื่องจากการเชื่อมโยงหลักฐานและร่องรอยต่างๆที่ค้นพบโดยนักโบราณคดีและข้อมูลการบันทึกต่างๆมากมายทั้งในและนอกประเทศเกี่ยวกับของอิทธิพลศรีวิชัย เช่น หลักฐานจากกรมศิลปากร บันทึกจากอินเดีย ศรีลังกา อาหรับ เปอร์เซีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และจีน เป็นต้น นอกจากนี้ การวิเคราะห์หลักฐานนักนักประวัติศาสตร์ที่สำคัญ อาทิเช่น หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ท่านพุทธทาสภิกขุ อาจารย์ธรรมทาส และพล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล รวมถึงท่านควอริส เวลล์ ที่ได้พบโดยเฉพาะบริเวณเส้นทางข้ามทวีปตะกั่วป่า-อ่าวบ้านดอน และคนศรีวิชัยมีความเหนี่ยวแน่นในสังคมวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตในวิถีพุทธ ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีจำนวนมากแสดงให้เห็นว่ามีคนอาศัยอยู่ในตอนเหนือและตอนกลางของคาบสมุทรมาลายูตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะการปรากฎอยู่ของการตั้งอยู่ของคนไทยในภาคใต้ รวมถึงวัฒนธรรมและความเชื่อของคนที่นี่มีลักษณะกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมไศเลนทร์อย่างมาก ดังแสดงให้เห็นจากวิถีชีวิตด้านต่างๆ อาทิเช่น ที่อยู่อาศัย ประเพณี ภาษา ศิลปะท้องถิ่น ความเชื่อ อาชีพ การแต่งกาย และอาหาร ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมการแห่ผ้าขึ้นธาตุ มโนราห์ หนังตะลุง และอาหารของภาคใต้ เป็นต้น หรือวิถีแบบพุทธศาสนาแบบมหายานที่นับถือพระโพธิสัตว์เป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถพบได้บริเวณภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะรอบอ่าวบ้านดอน ดังเช่นที่สวนโมกขพลารามนั่นแสดงถึงการผสมผสานกันอย่างสมดุลระหว่างวัฒนธรรมภายนอกกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและทำการสำรวจพื้นที่จริง นอกจากนี้ไปสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ปราชญ์ชาวบ้าน และคนในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสำรวจหลักฐานรอบอ่าวบ้านดอนมีความสำคัญต่อการศึกษาและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และอิทธิพลวัฒนธรรมศรีวิชัยอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม มรดกที่ซ้อนอยู่ในภูมิวัฒนธรรมของศรีวิชัยนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นมรดกที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิถีการดำเนินชีวิตอย่างคนศรีวิชัย ได้แก่ อาหาร การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ประเพณี ภาษา เช่น การสื่อสาร นิทาน บทประพันธ์ เป็นต้น อาชีพ ความเชื่อ ศิลปะท้องถิ่น หรือแม้แต่แหล่งโบราณสถานและภูมิทัศน์วัฒนธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ก็ตาม และจากข้อมูลและหลักฐานที่ได้สามารถนำไปสู่การตีความวิถีวัฒนธรรมศรีวิชัยทั้งที่เป็นมรดกที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์จากการสร้างนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวได้อย่างดีต่อไป

ชื่อผู้แต่ง

สิปปนันท์ นวลละออง
ปิยตา สุนทรปิยะพันธ์

Download Fulltext

คำสำคัญ

วิถีทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม
ศรีวิชัย
การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2561


เลขที่หน้า

 84-111

จำนวนผู้เข้าอ่าน

1 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,602  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th