"
Login | สมัครสมาชิก      

การพัฒนาระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Development of the Knowledge and Experience Evaluation System in Transferred Education for Technical Diploma Curriculum of Colleges under the Vocational Education Commission

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนที่พัฒนาขึ้น วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 สร้างระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญและคณะครูผู้มีประสบการณ์ด้านการเทียบโอน ผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ระยะที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพของระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างาน และครูผู้สอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา จำนวน 32 คน และนักเรียนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ภาคพิเศษ) รุ่นที่ 13 จำนวน 30 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนและแบบสอบถามเกี่ยวกับระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาระบบ พบว่า 1) ระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) งานเตรียมการ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย คือ (1.1) แผนดำเนินงาน (1.2) คุณสมบัติผู้ขอรับการประเมิน (1.3) คุณสมบัติของคณะกรรมการประเมิน และ (1.4) งานกำหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน (2) งานดำเนินการ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ (2.1) ส่วนนำเข้า (2.2) ส่วนประเมินความรู้และประสบการณ์และ (2.3) ส่วนรายงานผล (3) งานรายงานผล และ (4) งานนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงงาน 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอน พบว่า ผู้ใช้ระบบมีความคิดเห็นว่าระบบประเมินผลการเรียนรู้ฯ มีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก

ชื่อผู้แต่ง

บุหลัน เจนร่วมจิต
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง
ศิริพรรณ ชุมนุม
คมศร วงษ์รักษา

Download Fulltext

คำสำคัญ

ระบบประเมินผลการเรียนรู้
การเทียบโอน
อาชีวศึกษา

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2561


เลขที่หน้า

 165-181

จำนวนผู้เข้าอ่าน

1 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,603  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th