"
Login | สมัครสมาชิก      

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและปัจจัยทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

Service Marketing Mix Factors and Psychological Factors Associated with Consumer’s Purchase Behaviour for Ornamental Plants at Muang District, Chumphon Province

Abstract

การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและปัจจัยทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ปัจจัยทางจิตวิทยา และพฤติกรรมการซื้อของไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (2) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร และ (3) วิเคราะห์ปัจจัยจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าที่ซื้อไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จาก 7 ร้าน ในปี พ.ศ. 2559 โดยทำการสุ่มอย่างง่ายกับลูกค้าแต่ละร้านในทุกวันจันทร์ พุธ และเสาร์ เนื่องจากลูกค้าที่มาใช้บริการจะมีหลากหลายอาชีพ และเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้านิยมมาใช้บริการจนครบตามจำนวน 385 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (chi-square) ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการด้านผลิตภัณฑ์และด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนด้านการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านผลผลิตและคุณภาพ ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ ปัจจัยจิตวิทยา ด้านความเชื่อมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลิกภาพ ด้านการเรียนรู้ ด้านทัศนคติ ด้านการรับรู้และด้านการจูงใจตามลำดับ และพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ พบว่าลูกค้าที่ซื้อไม้ดอกไม้ประดับส่วนใหญ่มีเหตุผลในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเป็นสิริมงคล (ร้อยละ 28.57) จำนวนเงินที่ซื้อไม้ดอกไม้ประดับ/ชิ้น 1-500 บาท (ร้อยละ 43.12) ช่วงเวลาในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ เวลา 8.00 - 11.00 น. (ร้อยละ 48.31) ความถี่ในการซื้อ ไม้ดอกไม้ประดับ 1 ครั้งต่อเดือน (ร้อยละ 29.61) ซื้อไม้ดอกไม้ประดับในลักษณะซื้อปลีก (ร้อยละ 76.88) บุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับคือครอบครัว (ร้อยละ 53.77) และเลือกไม้ดอกไม้ประดับประเภทไม้พุ่ม (ร้อยละ 38.44) (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อไม้ดอกไม้ประดับของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพรด้านจำนวนเงินที่ซื้อ ช่วงเวลาในการซื้อ ลักษณะการซื้อ และบุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อ ตัวแปรมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อยในทิศทางเดียวกัน ส่วนตัวแปรอื่นไม่มีความสัมพันธ์กัน และ (3) ปัจจัยด้านจิตวิทยา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อไม้ดอกไม้ประดับของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ด้านเหตุผลในการซื้อ ช่วงเวลาในการซื้อ และลักษณะการซื้อ ตัวแปรมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อยในทิศทางเดียวกัน ส่วนตัวแปรอื่นไม่มีความสัมพันธ์กัน

ชื่อผู้แต่ง

ณัฐณิศา โกกนุต
กิตติ แก้วเขียว

Download Fulltext

คำสำคัญ

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ
ปัจจัยทางจิตวิทยา
พฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย 2562


เลขที่หน้า

 118-128

จำนวนผู้เข้าอ่าน

1 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,461  คน
ผู้เข้าชม 102,711  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th