"
Login | สมัครสมาชิก      

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี

Factors Influencing Innovation Behavior Of Agricultural Cooperative Officers in Phetchaburi Province

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่ในสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี และ (2) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่ในสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี รูปแบบของการศึกษาวิจัยเป็นแบบเชิงสำรวจภาคตัดขวาง ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 272 ราย โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ด้านความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากร มี 3 ปัจจัย คือ ระยะการปฏิบัติงาน (ปัจจัยส่วนบุคคล) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) และความปลอดภัยจากการมีส่วนร่วม (บรรยากาศในการสร้างนวัตกรรม) ด้านพฤติกรรมการทำงานเชิงรุก มี 3 ปัจจัย คือ การกระตุ้นทางปัญญา (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) และความปลอดภัยในการมีส่วนร่วม (บรรยากาศในการสร้างนวัตกรรม) ด้านความมีนวัตกรรมของบุคลากร มี 4 ปัจจัย คือ อายุ (ปัจจัยส่วนบุคคล) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การกระตุ้นทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) และด้านพฤติกรรมการแสวงหาโอกาส มี 6 ปัจจัย คือ อายุ (ปัจจัยส่วนบุคคล) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล(ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) และความปลอดภัยในการมีส่วนร่วม (บรรยากาศในการสร้างนวัตกรรม) ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.05 และ 0.10 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามข้อสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่าตัวแปรทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี สำหรับข้อเสนอแนะควรนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาส่งเสริมพฤติกรรมของบุคลากรให้สอดคล้องกับการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม อาทิ การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้บุคลากรเกิดความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ รวมถึงปัจจัยด้านความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรที่ควรสนับสนุนผ่านการเรียนรู้แบบกลุ่ม และการจัดการความรู้ เป็นต้น

ชื่อผู้แต่ง

วรชัย สิงหฤกษ์
ประสพชัย พสุนนท์

Download Fulltext

คำสำคัญ

พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม
การจัดการนวัตกรรม
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
บรรยากาศการสร้างนวัตกรรม

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2562


เลขที่หน้า

 77-90

จำนวนผู้เข้าอ่าน

1 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,602  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th