"
Login | สมัครสมาชิก      

รูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ร่วมกับการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบ่อ (นันทวิทยา) นครปากเกร็ด 1

Development of an Experience-Based Teaching Model Together with Teaching with the Use of Community Learning Resources to Develop Group Process Skills in the Social Studies, Religion and Culture Learning Area at Prathom Suksa V Level of Wat Bo (Nantha Wittaya) NakhonPak Kret School

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและประเมินความต้องการรูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ร่วมกับการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) พัฒนารูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ร่วมกับการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม (3) ทดลองใช้รูปแบบการสอน และ (4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้น ขั้นที่ 1 การวิจัยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และประเมินความต้องการของรูปแบบและพัฒนากรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจำนวน 100 คน และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกรอบแนวคิดของรูปแบบการสอน เครื่องมือการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการสอน (2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกรอบแนวคิด ขั้นที่ 2 การพัฒนาและประเมินคุณภาพรูปแบบการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบประเมินคุณภาพ ขั้นที่ 3 การวิจัย นำรูปแบบการสอนที่ผ่านการประเมินคุณภาพไปทดลองใช้เบื้องต้นกับนักเรียน จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม นำผลจากการทดลองใช้เบื้องต้นไปปรับปรุงและนำไปทดลองใช้จริงกับนักเรียน จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการทดลองใช้เบื้องต้นและใช้จริง คือ (1) รูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ร่วมกับการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน (2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอน (3) แบบประเมินทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ขั้นที่ 4 การพัฒนาโดยการจัดประชุมสัมมนา ผู้บริหาร และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด จำนวน 28 คน เกี่ยวกับรูปแบบการสอน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนมีความต้องการการสอนแบบอิงประสบการณ์ โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน และต้องการเรียนด้วยทักษะกระบวนการกลุ่มโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับกรอบแนวคิดของรูปแบบการสอน (2) รูปแบบการสอน ประกอบด้วย (2.1) องค์ประกอบ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย กิจกรรมการเรียน สื่อและแหล่งการเรียน และการประเมินผล และ (2.2) ขั้นตอนของรูปแบบการสอนมี ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดหน่วยประสบการณ์ ขั้นที่ 2 การประเมินก่อนเผชิญประสบการณ์ ขั้นที่ 3 การเข้ากลุ่มและชี้แนะแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นที่ 4 การกำหนดเป็นประสบการณ์หลักและประสบการณ์รองจากหน่วยประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นที่ 5 การเผชิญประสบการณ์ด้วยการรวบรวมข้อมูลโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นที่ 6 การเผชิญประสบการณ์แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นที่ 7 การวิเคราะห์ผลการเผชิญประสบการณ์โดยใช้กระบวนการกลุ่ม และขั้นที่ 8 การประเมินหลังเผชิญประสบการณ์ (3) การทดลองใช้รูปแบบการสอนในการทดลองใช้จริง พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 E1/E2 เรียงตามลำดับแต่ละหน่วย ดังนี้ 81.27/82.71, 82.29/82.00, และ 80.00/81.71 นักเรียนทุกคนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนมีทักษะการทำงานกลุ่มผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความพึงพอใจของนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) ผู้บริหารและครูมีความเห็นว่ารูปแบบการสอนมีความเหมาะสมเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านความมีประโยชน์ มีความสมบูรณ์ และมีความชัดเจน

ชื่อผู้แต่ง

โชติมา กลิ่นบุบผา

Download Fulltext

คำสำคัญ

รูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์
การสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน
กระบวนการทำงานกลุ่ม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ประถมศึกษา

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย 2562


เลขที่หน้า

 42-56

จำนวนผู้เข้าอ่าน

1 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,461  คน
ผู้เข้าชม 102,711  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th