"
Login | สมัครสมาชิก      

การเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน: การพัฒนาวิธีประยุกต์การให้คะแนนแบบตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก

A Comparison of Partial Knowledge Scoring Method Quality: A Development of Modified Number Right–Elimination Scoring Method

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก และเปรียบเทียบความยาก อำนาจจำแนกของข้อสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบ ความเที่ยงของแบบสอบ ฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ และความแม่นยำในการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบที่ได้จากวิธีประยุกต์คูมบ์ วิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก และวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือก ตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1,251 คน ในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ เป็นแบบสอบหลายตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบ่งเป็นข้อสอบ 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือกอย่างละ 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลความยาก อำนาจจำแนกของข้อสอบ และฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบโดยใช้โปรแกรม IRTPRO 4 Student วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม Mplus วิเคราะห์ความเที่ยงโดยใช้โปรแกรม SPSS และเปรียบเทียบความแตกต่างของความเที่ยงโดยใช้ Feldt test ผลการวิจัย พบว่า (1) วิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนที่ต่างกันส่งผลให้ความยากของข้อสอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีประยุกต์ของคูมบ์มีค่าความยากสูงสุด นอกจากนี้ วิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนและจำนวนตัวเลือกที่ต่างกันส่งผลต่ออำนาจจำแนกของข้อสอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีประยุกต์คูมบ์มีค่าอำนาจจำแนกสูงสุด ส่วนวิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกและวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกมีค่าอำนาจจำแนกไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) วิธีประยุกต์คูมบ์และวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัว เมื่อข้อสอบมี 4 และ 5 ตัวเลือก มีความตรงเชิงโครงสร้าง ส่วนวิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือกมีความตรงเชิงโครงสร้างแต่ 4 ตัวเลือกไม่มีความตรงเชิงโครงสร้าง (3) ความเที่ยงของทั้ง 3 วิธี เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือก ไม่แตกต่างกัน โดยวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกมีค่าความเที่ยงสูงที่สุด (4) วิธีตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือกให้สารสนเทศสูงที่สุดในช่วงระดับความสามารถต่ำ วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกให้สารสนเทศสูงที่สุดในช่วงระดับความสามารถปานกลางและทั้ง 3 วิธีให้สารสนเทศใกล้เคียงกันในช่วงระดับความสามารถสูง วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกมีความแม่นยำในการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบสูงสุด และ (5) วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกมีคุณภาพสูงที่สุด รองลงมา คือ วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือก

ชื่อผู้แต่ง

ณัฐภรณ์ เลขะวัฒนพงษ์
ศิริเดช สุชีวะ

Download Fulltext

คำสำคัญ

วิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วน
วิธีประยุกต์ของคูมบ์ วิธีตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2562


เลขที่หน้า

 91-110

จำนวนผู้เข้าอ่าน

1 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,604  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th