"
Login | สมัครสมาชิก      

การประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบเพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

An Application of Design - Based Research for Development of Cognitive Coaching Process Cooperating with Metacognitive Strategies to Enhance Research Competencies of Teachers in Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัย ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยอิงการออกแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 22 คน ระยะเวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกการชี้แนะ แบบบันทึกสะท้อนคิด และแบบบันทึกการดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่งเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการชี้แนะทางปัญญา ฯ มีองค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ กระบวนการและเงื่อนไขการนำกระบวนการไปใช้ ขั้นตอนของกระบวนการประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม 1.1) สร้างความไว้วางใจ 1.2) กำหนดแผนการชี้แนะ 1.3) ให้สาระแก่นวิจัย ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการชี้แนะ 2.1) ผสานความรู้ 2.2) ตกผลึกความคิดสู่การปฏิบัติ 2.3) ชี้แนะเพื่อสร้างการเรียนรู้ 2.4) สะท้อนผลการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ทบทวนไตร่ตรอง 3.1) สะท้อนงานบุคคล 3.2) สะท้อนกระบวนการ และเงื่อนไขสำหรับผู้รับการชี้แนะ ต้องใช้กลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อกำกับการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การควบคุม และการประเมินการคิด

ชื่อผู้แต่ง

ทิชากรช์ อาทิตวรากูล
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล

Download Fulltext

คำสำคัญ

การวิจัยอิงการออกแบบ
กระบวนการชี้แนะทางปัญญา
กลยุทธ์อภิปัญญา

วารสารฉบับที่

 

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2562


เลขที่หน้า

 111-122

จำนวนผู้เข้าอ่าน

1 ครั้ง

 

 

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,600  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th