Login | สมัครสมาชิก      

ความเป็นมา

                       ปัจจุบันมาตรฐานคุณภาพด้านการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาได้กำหนดให้งานวิจัยและงานสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาร่วมกับพันธกิจอื่นซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดให้จำนวนผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับ เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญด้วยดังนั้นมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาและมีการผลิตผลงานวิจัย และผลงานทางวิชาการโดยคณาจารย์และบุคลากรมาอย่างต่อเนื่องจึงได้ริเริ่มจัดทำวารสารที่สอดคล้องกับลักษณะการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการที่ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายและสามารถใช้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์จากงานวิชาการและการวิจัยทั้งในด้านองค์ความรู้ทางวิชาการ และระเบียบวิธีวิจัยต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการวิจัยและวิชาการได้ต่อไป
                     วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม เปิดให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปี 2554 ในระยะแรกทำการเผยแพร่บทความปีละ 1 ฉบับ โดยเปิดรับและเผยแพร่บทความอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี และเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 ได้รับเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร e-JODIL จากสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรตามเลขทะเบียน ISSN 2287-0326 (Online) และได้ปรับกำหนดการออกวารสารเป็น 2 ฉบับตามเกณฑ์ของสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม จึงเริ่มดำเนินการจัดเรียงฉบับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป

รู้จักนวัตกรรม

                  คำว่า “การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม” หมายถึง ข้อค้นพบ หรือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงข้อค้นพบ หรือข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า หรือเป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice) จากงานวิจัย/วิชาการ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้การผลิต และกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม ที่นำมาเผยแพร่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบของวารสารอิเล็กทรอนิกส์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับผลงานวิชาการและข้อค้นพบจากการวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้ ในระบบทางไกล
2. เพื่อเป็นช่องทางในการสะสมองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในระบบทางไกลสู่การเป็นสังคมฐานความรู้
3. เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ

ขอบเขตผลงานที่รับตีพิมพ์

ขอบเขตเนื้อหา   ประกอบด้วย สาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ประเภทบทความ ประกอบด้วย บทความพิเศษ (Special article/Invited paper) บทความวิจัย (Research article) บทความวิชาการ (Academic article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) และบทความปริทัศน์ (Review article)

สถิติวารสาร


จำนวนสมาชิก 1,471  คน
ผู้เข้าชม 106,600  คน
จำนวนบทความที่เผยแพร่ทั้งหมด 184  บทความ

©2016 e-jodil.stou.ac.th
Design by www.stou.ac.th